วันอังคารที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2550

Decision Support System : DSS

ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (DSS)
Decision Support System : DSS หมายถึง กลุ่มของเครื่องมือทางคอมพิวเตอร์ ที่มีความสัมพันธ์กันดี ติดต่อกับผู้ใช้แบบง่ายๆ การรวบรวมข้อมูลเพื่อใช้กับแบบจำลองหลายๆแบบ แบบจำลองเชิงคุณภาพ เชิงปริมาณ เพื่อแก้ปัญหาแบบกึ่งมีโครงสร้าง และแบบไม่มีโครงสร้าง
โปรแกรม DSS ที่นิยมใช้ ได้แก่
1. โปรแกรม Interrelated DSS ได้แก่ โปรแกรมที่ใช้ช่วยในการตัดสินใจของปัญหา
2. โปรแกรมการพยากรณ์ หรือ Forecasting ได้แก่โปรแกรมช่วยสนับสนุนการพยากรณ์ต่าง ๆ
3. โปรแกรมอื่น ๆ ได้แก่ การวางแผน การพัฒนายุทธศาสตร์ การโฆษณาที่มีประสิทธิภาพ
ชนิดของระบบ DSS
• Model – driven DSS ได้แก่ ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ ที่เป็นระบบเดี่ยวที่ถูกพัฒนาโดยผู้ใช้เป็นส่วนใหญ่
• Data - driven DSS ได้แก่ ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ ที่นำฐานข้อมูลขององค์กร ระบบที่นิยมใช้กัน ได้แก่
- ระบบ On – line Analytical Processing (OLAP)
- ระบบ Data mining
ส่วนประกอบของ DSS
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจที่สำคัญ คือ
1. ระบบฐานข้อมูล ( DSS Database )
2. ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการวิเคราะห์การตัดสินใจ
( DSS Software System )
3. เครื่องมือสนับสนุนการทำงานของระบบ
( DSS Support Tool )
ตัวแบบ (Model) คือ การจำลององค์ประกอบต่างๆที่นำมาใช้ในการตัดสินใจตัวอย่างตัวแบบหรือแบบจำลองได้แก่
- ตัวแบบทางสถิติ (Statistical Models )
- ตัวแบบทางการเงินและการบัญชี ( Financial and Accounting Models )
- ตัวแบบทางการผลิต ( Production Models )
- ตัวแบบทางการตลาด ( Marketing Models)
- ตัวแบบทางทรัพยากรมนุษย์ ( Human Resources Models )
หน้าที่ของระบบ DSS ที่สำคัญ 5 ประการ คือ
1. การสร้างแบบจำลอง เช่น การพยากรณ์ยอดขาย
2. การวิเคราะห์แบบ What-If Analysis เช่น การวิเคราะห์วิธีนี้เป็นกึ่งมีโครงสร้าง และไม่มีโครงสร้าง
3. การวิเคราะห์แบบ Goal Seeking เป็นกระบวนการที่ผู้ตัดสินใจกำหนดผลลัพธ์
4. การวิเคราะห์แบบ Risk Analysis เป็นการวิเคราะห์ทางเลือกในการตัดสินใจ
5. การวิเคราะห์แบบ Graphical Analysis คือการวิเคราะห์และแสดงผลลัพธ์
ประโยชน์ของ DSS
1.ช่วยในการเตรียมความพร้อมในการประชุม
2. มีการจัดเตรียมข้อมูลและสารสนเทศที่เหมาะสมในการประชุม
3. สร้างบรรยากาศในการร่วมมือกันระหว่างสมาชิก
4. สนับสนุนการมีส่วนร่วมและกระตุ้นการแสดงความคิดเห็นของสมาชิก
5. มีการจัดลำดับความสำคัญก่อนหลังของปัญหา
6. ช่วยให้การประชุมบรรลุผลในระยะเวลาที่สมควร
7. มีหลักฐานการประชุมแน่ชัด

ไม่มีความคิดเห็น: