วันอังคารที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2550

Supply Chain


Supply Chain หรือ “โซ่อุปทาน” ในภาษาไทย เป็นคำศัพท์ที่กำลังได้รับความนิยมในทุกภาคธุรกิจการค้าและอุตสาหกรรม แต่ ณ ปัจจุบันกลับยังไม่มีการให้คำนิยามที่ชัดเจนหรือเป็นการเฉพาะที่เป็นที่เข้าใจโดยทั่วกัน ทำให้ความรู้และความเข้าใจในเรื่องของโซ่อุปทานยังไม่มีความชัดเจน คำนิยามที่มีใช้กันอยู่นั้นก็มีหลากหลาย ซึ่งมีอยู่หลายรูปแบบดังลักษณะของ Model ต่อไปนี้
คำนิยามของ Mentzer (บิดาแห่ง Supply Chain) Mentzer ได้แบ่ง Supply Chain ออกเป็น 3 ระดับ คือ Basic/Direct Supply Chain , Extended Supply Chain และ Ultimate Supply Chain ดังรายละเอียด
ระดับที่ 1 : Basic/Direct Supply Chain ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มของบริษัท 3 บริษัท หรือมากกว่าที่มีความเกี่ยวข้องกันตั้งแต่ต้นทาง (ผู้ผลิต) ไปจนถึงปลายทาง (ลูกค้า) ทั้งในส่วนของการส่งผ่านของสินค้า บริการ การเงิน และข้อมูลทางการค้า
ระดับที่ 2 : Extended Supply Chain จะเป็นการขยาย Basic Supply Chain ให้กว้างออกไปอีกหนึ่งระดับ โดยจะมีการเพิ่มคนกลางทั้งในส่วนของผู้ผลิตและส่วนของลูกค้าขึ้นมา ซึ่งเมื่อระบบโซ่อุปทานมีสมาชิกเพิ่มมากขึ้นดังเช่นในระดับที่สองนี้ การบริหารจัดการโซ่อุปทานก็จะมีความยุ่งยากและซับซ้อนมากขึ้น เนื่องจากการไหลของข้อมูลทางการค้า (Information flow) จะต้องใช้เวลานานขึ้นในการส่งผ่านจากลูกค้า (Tier 2) ไปยังผู้ผลิต (Tier 2) และข้อมูลบางส่วนก็อาจเกิดการสูญหายหรือมีการบิดเบือนไปจากข้อมูลที่ได้รับมาจากลูกค้าโดยตรง
ระดับที่ 3 : Ultimate Supply Chain จะเป็น Supply Chain ระดับสูงสุดที่ Mentzer ได้ให้คำจำกัดความไว้ คือเป็นกลุ่มของบริษัทที่เกี่ยวข้องกันทั้งที่อยู่ต้นทางและปลายทาง โดยการส่งผ่านสินค้า/บริการ จะเริ่มต้นจากผู้ผลิตรายแรกสุด (Initial Supplier) ไปจนถึงผู้บริโภคคนสุดท้าย (Ultimate Customer)
จากคำนิยามของ Mentzer พบว่าในทุกๆ Supply Chain ทั้ง 3 ระดับนั้น จะมี Focal Firm เป็นตัวกลางใน Chain นั้นๆ เสมอ ความหมายของ Focal Firm ก็คือ บริษัทที่อยู่ใน Supply Chain ที่มีอำนาจต่อรองสูงที่สุดใน Chain นั้นๆ และจะเห็นได้ว่า ยิ่งระดับของการบริหารโซ่อุปทานสูงขึ้นเท่าใด จำนวนของบริษัทที่มีความเกี่ยวข้องจะมีมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งส่งผลให้การบริหารโซ่อุปทานมีความยุ่งยากมากขึ้น สำหรับในประเทศไทยส่วนใหญ่แล้วการจัดการโซ่อุปทานจะอยู่ในระดับ “Basic” และ “Extended” Supply Chain เท่านั้น ส่วนการจัดการโซ่อุปทานในระดับ “Ultimate” Supply Chain นั้น มีเพียงผู้ประกอบธุรกิจที่เป็นบริษัทข้ามชาติซึ่งรับเอาการบริหารจัดการของบริษัทแม่จากต่างประเทศเข้ามาใช้ ประโยชน์ที่สามารถนำไปใช้ในองค์กรของข้าพเจ้า
เป็นการที่นำเอาระบบมาใช้สำหรับการบริหารด้านลูกค้าเพื่อความพอใจของลูกค้า ในการให้บริการที่หลากหลายในการให้บริการ เพื่อตอบสนองความต้องการที่ของลูกค้า

CRM : Customer Relationship Management

ระบบการบริหารงานลูกค้าสัมพันธ์
(CRM : Customer Relationship Management)
CRM หมายถึง กิจกรรมทุกชนิดที่องค์กรใช้กับลูกค้าและผู้ที่คาดว่าอาจจะกลายเป็นลูกค้าในอนาคต กระบวนการนี้มีทั้งส่วนที่เป็นกิจกรรมทางธุรกิจและส่วนที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีที่นำระบบสารสนเทศมาใช้ในการประสานกระบวนการทางธุรกิจที่องค์กรนำมาใช้กับลูกค้าทั้งในกระบวนการขาย การตลาด และการให้บริการนับตั้งแต่เริ่มรับคำสั่งซื้อสินค้าไปจนกระทั้งนำสินค้าส่งให้กับลูกค้า
ลักษณะการทำงาน : CRM ถูกออกแบบเพื่อช่วยปฏิบัติการธุรกิจ เรียนรู้ความต้องการของลูกค้า จัดเก็บพฤติกรรมผู้บริโภคของลูกค้าและช่วยสร้างข้อมูลเพิ่มให้กับลูกค้าและธุรกิจ ซึ่งได้ออกแบบการบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้า เช่น ชื่อ-ที่อยู่ การสั่งสินค้า/บริการ การชำระเงิน ข้อเรียกร้อง การส่งคืนสินค้า เป็นระบบฐานข้อมูลที่ถูกบันทึกแยกกันโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลนั้นๆ เพื่อวัตถุประสงค์การใช้งานตามโครงสร้างองค์กร
การนำระบบ CRM มาใช้ให้ประสบความสำเร็จ จำเป็นต้องมีทั้งการวางแผนที่ดีและการวางระบบที่เหมาะสมเข้าด้วยกัน ทำให้ขั้นตอนการดำเนินธุรกิจต่างๆ สำหรับการวางกลยุทธ์ด้าน CRM บรรลุเป้าหมาย เช่น กำหนดความสามารถในการสร้างผลกำไรของลูกค้า การแบ่งกลุ่มลูกค้าและการกำหนดหลักเกณฑ์ต่างๆ การเพิ่มยอดขายด้วยการแนะนำสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกันในกลุ่มอื่นๆ
ประโยชน์ของ CRM
1. ช่วยจัดการด้านการขายด้วย software computer และข้อมูลของบริษัทยังมีประโยชน์ นำมาช่วยสนับสนุนกิจกรรมด้านการขาย ซึ่งทำให้การขายสามารถขายได้สูงขึ้น ระบบสนับสนุนที่ว่านี้รวมไปถึงโอกาสการขาย สารสนเทศของผลิตภัณฑ์ ลักษณะของผลิตภัณฑ์ และความสามารถในการอ้างการขาย
2. ช่วยจัดการด้านการบริการด้วย Software ที่สามารถเข้าถึงฐานข้อมูลของลูกค้าได้ด้วยระบบ computer online สามารถใช้ฐานข้อมูลร่วมกันได้ การบริการโดยช่วยจัดการข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กัน ให้คำแนะนำเพื่อแก้ไขปัญหาให้กับลูกค้าเพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า
3. ช่วยให้การทำการตลาดแบบมืออาชีพประสบความสำเร็จ เช่น การตั้งเป้าหมายทางการตลาดได้รับผลดี ช่วยในการจัดตารางการทำการตลาดและช่วยติดตามการส่งอีเมล์ไปยังลูกค้าโดยตรง อีกทั้งช่วยในการวิเคราะห์ลูกค้าและช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับธุรกิจ

Enterprise Systems

การสื่อสารภายในองค์การเป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จที่สำคัญอย่างหนึ่ง ซึ่งมีพลังขับเคลื่อนให้เกิดความร่วมมือกันทั่วทั้งองค์กร จนสามารถเอาชนะคู่แข่งขันได้ ดังนั้นกระบวนการสื่อสารจะต้องมีประสิทธิภาพ และมีการดำเนินการอย่างเป็นระบบ โดยที่กระบวนการสื่อสารหมายถึงขั้นตอนต่าง ๆ ระหว่างแหล่งข้อมูลข่าวสาร กับผู้รับข้อมูลข่าวสาร ทำให้เกิดการส่งผ่านหรือถ่ายทอด จนเกิดความเข้าใจความหมายของข้อมูลนั้น ๆ ดังนั้นถ้าหากช่องทางการสื่อสารมีการหักเห เบี่ยงเบน หรือมีสิ่งกีดขวางเกิดขึ้น จะทำให้ข้อมูลข่าวสารเกิดการเบี่ยง ไม่ตรงกับวัตถุประสงค์ และทำให้เกิดปัญหาต่อการสื่อสาร ระบบอินทราเน็ตสามารถช่วยลดช่องทางที่อาจทำให้ข้อมูลข่าวสารเบี่ยงเบน โดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศไปใช้ในแนวทางที่ทำให้สามารถทำงานร่วมกันได้
ระบบความร่วมมือองค์กรเป็นเครื่องมือ ที่ทำให้เกิดการสื่อสารทางความคิด การแบ่งปันทรัพยากร และการประสานความพยายามในการทำงาน เสมือนหนึ่งว่าทุกคนเป็นสมาชิกของกระบวนการทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ โดยมีเป้าหมายในการสามารถทำงานร่วมกันง่ายขึ้น มีประสิทธิภาพขึ้น และทำงานร่วมกันเป็นทีมที่ประกอบขึ้นตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปด้วยความร่วมมืออันเป็นสิ่งสำคัญ โดยสมาชิกของทีมจะสามารถกระทำเสมือนเป็นสมาคมกึ่งอิสระ (Virtual Team) ที่สามารถสร้างกฎระเบียบของตนเองซึ่งประกอบด้วย วาระการทำงาน กฎระเบียบ ความสัมพันธ์ และพฤติกรรมของแต่ละคน เป็นกรุ๊ปแวร์ โดยเครือข่ายโทรคมนาคมอนุญาตให้ผู้ใช้สามารถทำงานร่วมกันในทีมเสมือนโดยปราศจากเงื่อนไขในเรื่องของ เวลา สถานที่ และขอบเขตขององค์กร
ซึ่งมีลักษณะสำคัญ ดังนี้
1. มีลักษณะชั่วคราว มีการไหลเวียนของความร่วมมือกัน เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์
2. มีการเชื่อมต่อกันโดยการแบ่งปันความสนใจและความเชี่ยวชาญ
3. การติดต่อสื่อสารและความร่วมมือที่สนับสนุนด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
4. ส่วนประกอบของระบบความร่วมมือองค์กร (Enterprise Collaboration System
Components) เน้นความร่วมมือในระบบสารสนเทศ ดังนั้นจึงต้องใช้ทรัพยากรฮาร์ดแวร์
ซอฟต์แวร์ ข้อมูล และเครือข่าย เพื่อสนับสนุนการติดต่อสื่อสาร การประสานงาน และ
ความร่วมมือระหว่างสมาชิกของทีม โดยใช้อินทราเน็ตในการสร้างความร่วมมือโดย
ผ่านไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ การประชุมทางวีดีทัศน์ กลุ่มสนทนา และฐานข้อมูลสื่อ
ประสม โดยเป็นระบบความร่วมมือองค์กรเชื่อมต่อกับหลาย ๆ เครือข่าย ซึ่งได้เก็บ
ข้อมูลโครงการ บริษัท และฐานข้อมูลอื่น ๆ นอกจากนี้แม่ข่ายอาจจะมีทรัพยากร
ซอฟต์แวร์ที่หลากหลาย เช่น เว็บบราวเซอร์ กรุ๊ปแวร์ และโปรแกรมสำเร็จรูป เพื่อช่วย
ในเรื่องความร่วมมือของทีมจนกระทั่งโครงการสำเร็จ

ประโยชน์ต่อองค์กรของระบบ ES
- ลดต้นทุนและเพิ่มความยืดหยุ่นของระบบ
- พัฒนากระบวนการทำงาน
- สารสนเทศที่นำไปใช้ในการตัดสินใจมีความถูกต้อง
- เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของเทคโนโลยีที่มีอยู่ในองค์กรได้

Decision Support System : DSS

ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (DSS)
Decision Support System : DSS หมายถึง กลุ่มของเครื่องมือทางคอมพิวเตอร์ ที่มีความสัมพันธ์กันดี ติดต่อกับผู้ใช้แบบง่ายๆ การรวบรวมข้อมูลเพื่อใช้กับแบบจำลองหลายๆแบบ แบบจำลองเชิงคุณภาพ เชิงปริมาณ เพื่อแก้ปัญหาแบบกึ่งมีโครงสร้าง และแบบไม่มีโครงสร้าง
โปรแกรม DSS ที่นิยมใช้ ได้แก่
1. โปรแกรม Interrelated DSS ได้แก่ โปรแกรมที่ใช้ช่วยในการตัดสินใจของปัญหา
2. โปรแกรมการพยากรณ์ หรือ Forecasting ได้แก่โปรแกรมช่วยสนับสนุนการพยากรณ์ต่าง ๆ
3. โปรแกรมอื่น ๆ ได้แก่ การวางแผน การพัฒนายุทธศาสตร์ การโฆษณาที่มีประสิทธิภาพ
ชนิดของระบบ DSS
• Model – driven DSS ได้แก่ ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ ที่เป็นระบบเดี่ยวที่ถูกพัฒนาโดยผู้ใช้เป็นส่วนใหญ่
• Data - driven DSS ได้แก่ ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ ที่นำฐานข้อมูลขององค์กร ระบบที่นิยมใช้กัน ได้แก่
- ระบบ On – line Analytical Processing (OLAP)
- ระบบ Data mining
ส่วนประกอบของ DSS
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจที่สำคัญ คือ
1. ระบบฐานข้อมูล ( DSS Database )
2. ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการวิเคราะห์การตัดสินใจ
( DSS Software System )
3. เครื่องมือสนับสนุนการทำงานของระบบ
( DSS Support Tool )
ตัวแบบ (Model) คือ การจำลององค์ประกอบต่างๆที่นำมาใช้ในการตัดสินใจตัวอย่างตัวแบบหรือแบบจำลองได้แก่
- ตัวแบบทางสถิติ (Statistical Models )
- ตัวแบบทางการเงินและการบัญชี ( Financial and Accounting Models )
- ตัวแบบทางการผลิต ( Production Models )
- ตัวแบบทางการตลาด ( Marketing Models)
- ตัวแบบทางทรัพยากรมนุษย์ ( Human Resources Models )
หน้าที่ของระบบ DSS ที่สำคัญ 5 ประการ คือ
1. การสร้างแบบจำลอง เช่น การพยากรณ์ยอดขาย
2. การวิเคราะห์แบบ What-If Analysis เช่น การวิเคราะห์วิธีนี้เป็นกึ่งมีโครงสร้าง และไม่มีโครงสร้าง
3. การวิเคราะห์แบบ Goal Seeking เป็นกระบวนการที่ผู้ตัดสินใจกำหนดผลลัพธ์
4. การวิเคราะห์แบบ Risk Analysis เป็นการวิเคราะห์ทางเลือกในการตัดสินใจ
5. การวิเคราะห์แบบ Graphical Analysis คือการวิเคราะห์และแสดงผลลัพธ์
ประโยชน์ของ DSS
1.ช่วยในการเตรียมความพร้อมในการประชุม
2. มีการจัดเตรียมข้อมูลและสารสนเทศที่เหมาะสมในการประชุม
3. สร้างบรรยากาศในการร่วมมือกันระหว่างสมาชิก
4. สนับสนุนการมีส่วนร่วมและกระตุ้นการแสดงความคิดเห็นของสมาชิก
5. มีการจัดลำดับความสำคัญก่อนหลังของปัญหา
6. ช่วยให้การประชุมบรรลุผลในระยะเวลาที่สมควร
7. มีหลักฐานการประชุมแน่ชัด

Group Decision Support Systems: GDSS

ระบบสนับสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่ม (Group Decision Support Systems: GDSS)

ความหมายของ GDSS
Huber (1984) : ระบบสนับสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่ม หมายถึง การผสมผสานการใช้งานระหว่าง ซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ ภาษา และกระบวนการเพื่อสนับสนุน การประชุมของกลุ่มคนที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจในเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง
DeSanctis, Gallupe (1987) : ระบบสนับสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่ม หมายถึง ระบบที่มีการปฏิสัมพันธ์ด้วยคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะอำนวยความสะดวกให้กลุ่มคนในเรื่องการตัดสินใจแก้ปัญหาที่ไม่มีโครงสร้าง ดังนั้นองค์ประกอบของระบบสนับสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่ม จึงต้องประกอบด้วย ซอฟต์แวร์ ฮารด์แวร์ ผู้ใช้ และกระบวนการที่ใช้สนับสนุนการดำเนินการประชุม จนสามารถทำให้การประชุมเป็นไปได้ด้วยดี

ลักษณะของระบบสนับสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่ม
1. เป็นระบบสารสนเทศที่ถูกออกแบบ และสร้างขึ้นโดยเฉพาะ
2. ออกแบบขึ้นมาเพื่อปรับปรุงกระบวนการตัดสินใจขององค์ประชุม
3. ง่ายต่อการเรียนรู้ และใช้งานได้สะดวก และให้ความหลากหลายกับผู้ใช้ในแต่ละระดับ
4. มีกลไกที่ให้ผลในเรื่องของการปรับปรุงจุดบกพร่องที่เกิดจากพฤติกรรมของผู้เข้าร่วมประชุม เช่น การทำให้ผู้เข้าร่วมประชุมเข้าใจในความหมายต่าง ๆ ตรงกัน
5. ต้องออกแบบให้ระบบสามารถกระตุ้นให้เกิดกิจกรรมต่าง ๆ เช่น กระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ แนวความคิดที่แตกต่าง และ การมีอิสระทางความคิด เป็นต้น

องค์ประกอบของระบบสนับสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่ม
- ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
- ซอฟต์แวร์ (Software)
- ผู้ใช้ (User)
- กระบวนการ (Procedure)

ประโยชน์ของการตัดสินใจแบบกลุ่ม (Group Decision)
ในบางครั้งการตัดสินใจดำเนินการบางอย่างในองค์กรขนาดใหญ่ อาจไม่สามารถกระทำได้เพียงบุคคล คนเดียว ซึ่งต้องอาศัยการตัดสินใจร่วมกันเป็นกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มของผู้บริหาร หรือผู้ปฏิบัติงาน
ดังนั้น ประโยชน์ของระบบ GDSS มีดังนี้
1. สนับสนุนการประมวลผลแบบคู่ขนาน
2. การประชุมร่วมของสมาชิกกลุ่มและการทำงานร่วมกัน
3. เพิ่มศักยภาพของการแสดงความคิดเห็น
4. อนุญาตให้กลุ่มสามารถใช้เทคนิคการแก้ปัญหาแบบมีโครงสร้าง
5. ง่ายในการเข้าถึงข้อมูลจากภายนอก
6. การติดต่อสื่อสารไม่ต้องเป็นแบบตามลำดับ
7. ให้ผลลัพธ์จากการออกเสียง
8. สามารถวางแผนล่วงหน้าในการประชุมกลุ่มได้
9. ผู้เข้าประชุมสามารถปฎิสัมพันธ์กันได้ทันที
10. สามารถเก็บข้อมูลในการประชุมไว้ในการพิจารณาหรือวิเคราะห์ครั้งต่อไปได้

วันเสาร์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2550

โครงการทัศนศึกษาเขาพระวิหาร

นักศึกษารัฐศาสตร์มหาบัณฑิต รุ่นที่ 3 ได้มีโครงการสานสัมพันธ์และร่วมสังสรรค์วันต้อนรับปีใหม่ 2551 ในวัที่ 5 มกราคม 2551 หลังจากที่พวกเราสอบ
เสร็จ เราจะออกเดินทางจากวิทยาลัยโปลีฯ เวลา 13.00 น. เดินทางสู่อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร